อุตสาหกรรมก่อสร้างปี 2024

720 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อุตสาหกรรมก่อสร้างปี 2024

|อุตสาหรรมก่อสร้างปี 2024
Source:SCBEIC
วันที่ 10 มกราคม 2567
|การก่อสร้างภาครัฐ
มูลค่าการก่อสร้างภาครัฐในปี 2024 มีแนวโน้มขยายตัว 2%YOY แตะระดับ 810,000 ล้านบาท โดยจะเผชิญปัจจัยท้าทายด้านความล่าช้าในการจัดทำงบประมาณประจำปี 2024 ซึ่งจะกระทบมูลค่าการก่อสร้างภาครัฐใน Q1-Q2/2024 และคาดว่าจะสามารถเร่งเบิกจ่ายได้ในช่วง Q3/2024 ซึ่งเป็นช่วงท้ายปีงบประมาณ อย่างไรก็ดี จะมีการเริ่มประมูลโครงการ Mega project ใหม่ ๆ โดยหน่วยงานต่าง ๆ เตรียมนำเสนอเพื่อให้ ครม. อนุมัติ ทั้งนี้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการปรับปรุงระบบคมนาคมทั้งทางบกทางน้ำ และทางอากาศ โดยมีโอกาสเร่งพัฒนาการคมนาคมขนส่งด้านรถไฟ ที่เชื่อมโยงกับการคมนาคมอื่น ๆ นอกจากนี้นโยบายส่งเสริมการลงทุนยังหนุนให้เกิดโอกาสในการเร่งพัฒนาโครงการก่อสร้างที่เกี่ยวข้อง ทั้งโครงการภาครัฐ และภาคเอกชน
|การก่อสร้างภาคเอกชน
มูลค่าการก่อสร้างภาคเอกชนในปี 2024 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องมาอยู่ ที่ 598,000 ล้านบาท (+3%YOY) โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการขยายตัวของมูลค่าการก่อสร้างที่อยู่อาศัยกลุ่มคอนโดมิเนียม ไปตามการเปิดโครงการใหม่ที่กลับมาฟื้นตัวใน 1-2 ปีก่อนหน้า รวมถึงการขยายตัวของมูลค่าการก่ อสร้างอาคารสำนักงาน พื้นที่ค้าปลีก และโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังมีการ Renovate พื้นที่ค้าปลีก และโรงแรม เพื่อรองรับการฟื้นตัวของกำลั งซื้อในประเทศ และนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างไรก็ตาม                หนี้ครัวเรือนสูง และราคาที่อยู่อาศัยใหม่ที่ปรั บตัวเพิ่มขึ้น เป็นความท้าทายต่อการเปิดตั วโครงการ และการก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มระดั บราคาปานกลางลงมารวมถึงต้องจับตาภาวะ Oversupply ที่อาจทำให้เลื่อน/ยกเลิ กโครงการอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ที่ไม่มีศักยภาพออกไป โดยเฉพาะโครงการก่อสร้ างอาคารสำนักงานในบางพื้นที่

|ความท้าทายในปี 2024 ของอุตสาหกรรมก่อสร้าง
ภาคก่อสร้างยังเผชิญความท้าทายทั้งในปี 2024 และในระยะปานกลาง ทั้งต้นทุนก่อสร้างยังอยู่ ในระดับสูงความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงิน และแรงกดดันในการลดการปล่อย CO2 ที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างต้องปรับกลยุทธ์รับมือได้แก่

1.เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ และควบคุมต้นทุนก่อสร้าง ด้วยการพัฒนาศักยภาพ และร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อเข้าประมูลงานก่อสร้างได้อย่างหลากหลายร่วมลงทุน           ระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ระมัดระวังการเข้าประมูลแบบแข่งขันด้านราคา รวมถึงทำสัญญาสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างล่วงหน้า อย่างสอดคล้องกับความต้องการใช้

2.บริหารสภาพคล่องทางการเงินโดยปรับสัดส่วนการรับงานก่อสร้างภาครัฐ และเอกชนให้เหมาะสม รวมถึงดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามแผน เพื่อให้สามารถเบิกจ่าย      ได้ตามกำหนด

3.ลดการปล่อย CO2 ด้วยการหาพันธมิตรวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานลงทุนนำเทคโนโลยีก่อสร้างมาใช้ให้ความสำคัญกับการ             วัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม

| Credit : SCB EIC >>

ประกันภัยก่อสร้าง เป็นเงื่อนไขที่คู่สัญญาส่วนใหญ่จะระบุในสัญญาให้ผู้รับเหมาก่อสร้างต้องจัดให้มีการทำประกันภัยความเสี่ยงเสี่ยงภัยทุกชนิดของผู้รับเหมางานก่อสร้าง       อาคาร โรงงาน วิศวกรรมโยธาต่างๆ คุ้มครองงานรับเหมาก่อสร้างที่ครอบคลุมถึง มูลค่าเต็มของตัวงานรับเหมาตามมูลค่า เมื่อโครงการแล้วเสร็จเครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้าง     อุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้าง ค่ารื้อซาก และวิศวกรที่ปรึกษา จากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นระหว่างก่อสร้างภายใต้ระยะสัญญาก่อสร้าง  ประกันภัยที่เกี่ยวข้องมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามลักษณะงานตามสัญญา เช่น ประกันภัยการเสี่ยงภัยทุกชนิดของผู้รับเหมา ประกันภัยงานรับเหมาตามสัญญา ประกันภัยการติดตั้งเครื่องจักร ประกันภัยเครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้าง ประกันภัยเครื่องจักร  ประกันภัยเครื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

|กรุงเทพประกันภัย   |เออร์โก้ประกันภัย    |ทิพยประกันภัย    | มิตรแท้ประกันภัย    |สหบางกอกประกันภัย    | อินทรประกันภัย   

|ติดต่อสอบถามปรึกษาประกันภัย :
สำนักงาน แอสอินไลฟ์ โบรคเกอร์
โทรศัพท์ : 095 952 6514
Line OA:@asinlife
ทุกเรื่องประกันภัยวางใจเรา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้