ประกันภัยรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์

2326 Views  | 

ประกันภัยรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์

เปรียบเทียบความคุ้มครองประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจประเภทต่าง ๆ

ประเภทประกันภัยรถยนต์ความคุ้มครองรถยนต์คันที่เอาประกันภัยความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกคุ้มครองบุคคลในรถคันที่เอาประกันภัย
สูญหายไฟไหม้การชนทรัพย์สินบุคคลอุบัติเหตุส่วนบุคคลค่ารักษาพยาบาลประกันตัวผู้ขับขี่
ประเภท 1คุ้มครองคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครอง
ประเภท 2+คุ้มครองคุ้มครองคุ้มครอง*คุ้มครองคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครอง
ประเภท 2คุ้มครองคุ้มครอง-คุ้มครองคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครอง
ประเภท 3+--คุ้มครอง*คุ้มครองคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครอง
ประเภท 3---คุ้มครองคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครองคุ้มครอง
คุ้มครอง* ต้องเกิดจากกรณีอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบกเท่านั้น
 

รหัสรถ 110 – รถยนต์นั่งส่วนบุคคล (ไม่เกิน 7 ที่นั่ง)

ลักษณะการใช้งาน : ใช้ส่วนบุคคล
 
รถเก๋งทั่วไปเป็นรถที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย

โดยในปัจจุบันรถเก๋งมีให้เลือกใช้หลายแบบ เช่น

Eco Car Sedan Sport Car Super Car เป็นต้น

  

รถ SUV  (Sport Utility Vehicle หรือ Suburban utility vehicle)

เป็นรถยนต์ที่เน้นใช้งานค่อนข้างสมบุกสมบัน

มีระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ โดยรถยนต์ SUV

นั้นมีพื้นฐานเดียวกันกับรถกระบะแล้วจึงนำมาดัดแปลงเป็นรถยนต์นั่ง

โดยในภายหลังได้มีการปรับให้ใช้พื้นฐานของรถเก๋งเข้ามาเพื่อเพิ่มความสบายในการนั่งเข้าไปอีกด้วย



รถกระบะ 4 ประตู

เป็นรถยนต์ที่ใช้งานคล้ายกับรถ SUV

ลักษณะด้านในตัวรถเหมือนกับรถเก๋ง

แต่รถกระบะ 4 ประตูมีศักยภาพที่เหนือกว่ารถทุกประเภททั้งเก๋งและ SUV

เนื่องจากพื้นที่กระบะหลังที่เปิดโล่ง สามารถขนของได้ลงตัวสำหรับการใช้งานมากกว่า



รหัสรถ 210 – รถยนต์โดยสารส่วนบุคคล (เกิน 7 ที่นั่ง)

ลักษณะการใช้งาน : ใช้ส่วนบุคคล

รถตู้หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า “รถแวน” เป็นรถโดยสารรูปทรง 4 เหลี่ยม

หัวตัดสั้น มีประตูเลื่อนเปิดปิดด้านข้าง

บรรทุกได้ประมาณ 12 -15 คน โดยรถตู้รหัส 210

จะใช้เป็นการส่วนตัว หรือใช้ในครอบครัวเท่านั้น (ทะเบียนตัวอักษร : น อ ฮ ฬ)



รหัสรถ 220 – รถยนต์โดยสารเพื่อการพาณิชย์ (เกิน 7 ที่นั่ง)

ลักษณะการใช้งาน : ใช้เพื่อการพาณิชย์

รถตู้สำหรับรถตู้รหัส 220 จะเป็นรถตู้แบบเดียวกับรหัส 210 คือ

เป็นรถโดยสารรูปทรง 4 เหลี่ยม หัวตัดสั้น

มีประตูเลื่อนเปิดปิดด้านข้าง บรรทุกได้ประมาณ 12 – 15 คน

โดยรถตู้รหัส 220 จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้


     – รับจ้าง รับส่งเฉพาะกลุ่ม เช่น รถรับส่งนักเรียน พนักงาน เป็นต้น (ทะเบียนตัวอักษร : น อ ฮ ฬ)

– รับจ้างสาธารณะไม่ประจำทาง (ทะเบียนตัวเลข : ป้ายเหลือง 30 – 35 , ป้ายขาว 36 – 39)



รหัสรถ 320 – รถยนต์บรรทุกเพื่อการพาณิชย์

ลักษณะการใช้งาน : ใช้เพื่อการพาณิชย์

รถกระบะแบบตอนเดียวส่วนใหญ่จะเน้นสำหรับใช้ในเชิงพาณิชย์

สำหรับการขนส่งบรรทุกขนาดหนักเพราะเน้นพื้นที่ท้ายกระบะที่มากกว่าส่วนอื่น

ในส่วนที่นั่งภายในรถมีแค่สองที่คือคนขับและผู้โดยสาร

  
 

รหัสรถ 320 – รถยนต์บรรทุกเพื่อการพาณิชย์


ลักษณะการใช้งาน : ใช้เพื่อการพาณิชย์

รถกระบะตอนครึ่ง หรือ รถกระบะแคป

ถือกำเนิดประมาณปี 2528 โดยชูจุดเด่นเรื่องห้องโดยสารกว้าง

เน้นความโอ่โถง สังเกตได้ว่าแคปที่ว่าจะเป็นเหมือนพื้นที่เก็บของด้านหลัง

ที่ไม่อยากให้เปียกฝนตากแดด รถกระบะตอนครึ่ง

หรือรถที่มีแคปนั้น ตอนครึ่งที่ว่า เป็นส่วนขยายห้องโดยสารให้กว้างขึ้น

ไว้เพื่อให้ใส่สัมภาระเล็กน้อย (แบบไม่เปียกฝน/ลม/ฝุ่น) สามารถเอนนอนได้

  

รหัสรถ 730 – รถยนต์นั่งรับจ้างสาธารณะ (ไม่เกิน 7 ที่นั่ง)

ลักษณะการใช้งาน : ใช้รับจ้างสาธารณะ

แท็กซี่ส่วนบุคคลตามหลักการแล้ว รถแท็กซี่เขียวเหลือง

ต้องเป็นแท็กซี่ส่วนบุคคล แต่ในปัจจุบัน

รถเขียวเหลืองที่เป็นของเจ้าของอู่แท็กซี่ซื้อไว้แล้วให้คนเช่าขับก็มีบ้างเช่นกัน

  

รหัสรถ 730 – รถยนต์นั่งรับจ้างสาธารณะ (ไม่เกิน 7 ที่นั่ง)

ลักษณะการใช้งาน : ใช้รับจ้างสาธารณะ

แท็กซี่สหกรณ์จะเป็นแท็กซี่สีอื่นๆ ที่ไม่ใช่สีเขียวเหลือง

โดยด้านข้างจะติดสติ๊กเกอร์บอกชื่อสหกรณ์ที่รถคันนั้นสังกัดอยู่

ในปัจจุบันที่เห็นมากจะเป็น สีชมพู สีเขียว สีฟ้า สีส้ม สีแดง เป็นต้น

  

รหัสรถ 610/620/630 – รถจักรยานยนต์


ลักษณะการใช้งาน : ใช้ส่วนบุคคล/ใช้เพื่อการพาณิชย์/ใช้รับจ้างสาธารณะ

รถจักรยานยนต์ หรือ รถมอเตอร์ไซค์

ยานพาหนะสองล้อที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินหรือมอเตอร์ในการขับเคลื่อน

ประเภทของจักรยานยนต์ขึ้นอยู่กับลักษณะการออกแบบใช้งาน

เช่น ระยะทาง สภาพจราจร การท่องเที่ยว กีฬา การแข่งขัน เป็นต้น

       - สำเนาทะเบียนรถ

              - หน้าตารางกรมธรรม์ประกันภัยเดิม

      ขอข้อเสนอประกัน
      095 - 952 6514
     

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy